สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
ชื่อทางการประเทศภาษาไทย : สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
ชื่อทางการประเทศภาษาอังกฤษ : Republic of Iceland
พื้นที่
103,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง
กรุงเรคยาวิก (Reykjavik)
ประชากร
343,518 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน)
ภูมิอากาศ
อุณหภูมิบริเวณชายฝั่งเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของกระแสน้ำแอตแลนติกเหนือ มีอากาศหนาวเย็นตลอดปีในภาคพื้นทวีปและมีฝนตกตลอดปีบริเวณชายฝั่งตะวันตก
ภาษาราชการ
ไอซ์แลนดิก
ศาสนา
คริสต์นิกายลูเทอแรน ร้อยละ 73.8
คริสต์นิกายอื่นๆ ร้อยละ 11.7
ศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 7.1
ไม่ระบุ ร้อยละ 7.4
หน่วยเงินตรา
โครนาไอซ์แลนด์ (Icelandic Króna ตัวย่อ ISK)
(1 โครนาไอซ์แลนด์ ประมาณ 0.26 บาท ณ วันที่ 17 เม.ย. 2562)
พระประมุข
นายกึดนี ทอลาซีเอิส โยฮันเนสซอน (Guðni Thorlacius Jóhannesson) ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559
นายกรัฐมนตรี
Katrín Jakobsdóttir ตั้งแต่ 30 พฤศจิกายน 2560
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
Gudlaugur Thór Thórdarson
วันชาติ
17 มิถุนายน 1944
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
18 มิถุนายน 2518
ระบบรัฐสภา เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย บ่อยครั้งมีการจัดตั้งรัฐบาลแบบรัฐบาลผสม ประธานาธิปดีถึงแม้จะถูกเลือกมาจากการเลือกตั้งแต่มีอำนาจจำกัด ส่วนใหญ่จะประจำตำแหน่งในด้านการทูต ในงานพิธีต่างๆ และดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ ส่วนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะมีอำนาจในการบริหารงานประเทศมากที่สุด
ไอซ์แลนด์คือประเทศเพียงประเทศเดียวที่เป็นสมาชิกของ NATO ที่ไม่มีกองกำลังสาธารณะในประเทศ เนื่องจากกองกำลังทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถอดถอนกองกำลังออกไปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2549 กองกำลังป้องกันของไอซ์แลนด์ยังคงมุ่นมั่นและรักษาสถานะทางอากาศไว้ ไอซ์แลน์เข้าร่วมภารกิจการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศกับหน่วยรับมือวิกฤตการ์ณ หรือ civilian-manned Icelandic Crisis Response Unit (ICRU) ไอซ์แลนด์ไม่มีกองทหารประจำการแต่มีกองการตำรวจแห่งชาติและหน่วยรักษาการ์ณชายฝั่ง
การเลือกตั้งจะถูกจัดทุก 4 ปี แต่ไม่จำเป็นต้องเลือกทุกตำแหน่งในหนึ่งการเลือกตั้ง ประธานาธิปดีจะถูกเลือกโดยตรงด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน มีวาระ 4 ปี ไม่จำกัดจำนวนวาระ การเลือกตั้งครั้งล่าสุดถูกจัดเมื่อ 25 มิถุนายน 2559 โดย Gudni Thorlacius JOHANNESSON จากพรรค Independence Party เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งและการเลือกตั้งครั้งถัดไปจะถูกจัดในเดือน มิถุนายน 2563
ก่อตั้งเมื่อปี 1845 ในฐานะคณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ชาวเดนมาร์ก ปัจจุบันรู้จักในนาม Althing หรือ Alþingi
· ไอซ์แลนด์มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 34 ของยุโรป และ อันดับที่ 147 ของโลก
· ประชากร 343,518 คน มากเป็นอันดับที่ 178 ของโลก
· GDP (Per capita) รายได้เฉลี่ยต่อหัว 52,200 เหรียญสหรัฐ
· GDP (Real growth rate ) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 4%
· GDP (Purchasing power parity) อัตราเงินเฟ้อมูลค่า 18.18 พันล้าน US$
· GDP (Official Exchange Rate) อัตราเแลกเปลี่ยนมูลค่า 24.48 พันล้าน US$
· อัตราการว่างงานร้อยละ 2.8 เป็นลำดับที่ 30 ของโลก ในปี 2560
· ภาคการบริการ ร้อยละ 74.6% ของ GDP
· ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 19.7% ของ GDP
· ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 5.8% ของ GDP
· สินค้าส่งออกสำคัญ ปลาและผลิตภัณต์จากปลา (42%), อะลูมิเนียม (38%), ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรรม, ด้านการแพทย์และเครื่องมือทางการแพทย์, โลหะผสมเหล็กซิลิกอน
· ตลาดส่งออกสำคัญ เนเธอร์แลนด์ 25.5%, สเปน13.6%, อังกฤษ 9.4%, เยอรมัน 7.6%, สหรัฐอเมริกา7%, ฝรั่งเศส 6.3%, นอร์เวย์ 4.9%
· สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกล, ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม, เครื่องบริโภค, สิ่งทอ
· ตลาดนำเข้าสำคัญ เยอรมัน 10.7%, นอร์เวย์ 9.2%, จีน 7%, เนเธอร์แลนด์ 6.7%, สหรัฐอเมริกา 6.4%, เดนมาร์ก 6.2%, อังกฤษ 5.7%, สวีเดน 4.1%
· ประชากรของไอซ์แลนด์ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.85 อยู่ในช่วงวัยรุ่น และวัยทำงาน (15-64 ปี) ร้อยละ 20.40 อยู่ในช่วงวัยเด็ก (0-14 ปี) และร้อยละ 14.76 อยู่ในวัยชรา (มากกว่า 65 ปี)
· อัตราการเกิดของประชากร 13.6 ต่อประชากร 1,000 คน
· ไอซ์แลนด์ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับของ Global Competitiveness Index 2018 2018 และอันดับที่ 24 ของ โลกจากการจัดอันดับของ IMD World Competitiveness Report 2018
· ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไอซ์แลนด์ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็ก แต่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในปี 2551 ที่ไอซ์แลนด์ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ไอซ์แลนด์นำการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจแบบทุนนิยมผสมกับการค้าเสรีพร้อมกับการสร้างรัฐสวัสดิการที่ครอบคลุมให้กับประชาชนซึ่งนั่นส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลง และยังช่วยในเรื่องของการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นอีกด้วย
· เศรษฐกิจของประเทศไอซ์แลนด์มีความหลากหลายขึ้นมากในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซอฟ์ตแวร์ และเทคโนโลยีชีวภาพในช่วงทศวรรตที่ผ่านมา
· ความอุดมสมบูรณ์ของพลังงานความร้อนและน้ำเป็นสิ่งที่ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศมาที่ภาคส่วนอะลูมินัมซึ่งจะมามีส่วนช่วยในการผลักดันการเติบโตและจุดประกายความสนใจของกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อการก่อตั้งศูนย์รวมความรู้และข้อมูลในการใช้พลังงานสะอาด
· ในช่วงทศวรรตที่ผ่านมาไอซ์แลนด์พึ่งพาเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมประมงและอะลูมิเนียมเป็นอย่างมากซึ่งเป็นธุรกิจส่งออกหลักของไอซ์แลนด์ แต่ในปัจจุบันรายได้จากอุตสหกรรมการท่องเที่ยวได้ดีกว่าทั้งสองภาคมากแล้ว
· ในปี 2559 รายได้จากอุสหกรรมการท่องเที่ยวถือว่าเป็นร้อยละ 8.6 ของการเติบโตทางเศรฐกิจของไอซ์แลนด์ ( GDP ) และร้อยละ 36 ของการซื้อขายแลกเปลี่ยนและบริการ จากนั้นในปี 2553 จนถึง 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้นใกล้เคียงร้อยละ 400